จำนวน 1 แผ่น
เสียง ไทย/อังกฤษ
Subtitle ไทย/อังกฤษ
เรื่องย่อ
บุรุษสองศตวรรษ หรือ Bicentennial Man เป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2542 ดัดแปลงจากนิยายวิทยาศาสตร์ The Bicentennial Man ของ ไอแซค อสิมอฟ ซึ่งได้รับรางวัลฮิวโก ในปี พ.ศ. 2519
ในประเทศไทย ตีพิมพ์ในชื่อเรื่อง มนุษย์สองร้อยปี แปลโดย ชัยคุปต์ เมื่อ พ.ศ. 2523
ภาพยนตร์ ซึ่งแสดงนำโดย โรบิน วิลเลียมส์ ได้รับการยอมรับว่าถ่ายทอดจากนวนิยายมาได้ค่อนข้างครบถ้วน ถึงแม้จะมีรายละเอียดบางอย่างต่างจากในหนังสือบ้าง
และแนวคิดของอาซิมอฟที่ลือลั่น ได้รับการยกย่องมากไม่แพ้งานเขียนของเขาก็คือ การเป็นผู้คิดริเริ่มกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ ซึ่งส่งผลให้นิยายวิทยาศาสตร์ที่มีหุ่นยนต์เป็นตัวละครรุ่นต่อ ๆ มา
พลิกโฉมเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง จากเดิมที่หุ่นยนต์ถูกวาดภาพให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่น่ากลัวและคุกคามความสงบสุขของมนุษย์ หลังจากกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์
ซึ่งประกอบไปด้วย
1. หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ และจะต้องป้องกันมิให้มนุษย์ได้รับอันตราย
2. หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังคำสั่งของมนุษย์โดยเคร่งครัด ยกเว้นแต่ว่าคำสั่งนั้นขัดต่อกฎข้อที่หนึ่ง
3. หุ่นยนต์ต้องปกป้องคุ้มครองตนเอง ตราบใดที่การคุ้มครองตนเองนั้น ไม่ขัดกับกฎสองข้อแรก) ได้ประกาศเผยแพร่ แง่มุมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในด้านที่เป็นมิตรกับมนุษย์ ก็เริ่มได้รับการนำเสนอในนิยายวิทยาศาสตร์ผ่านเนื้อหาหลากหลายยิ่งขึ้นกว่าเดิม (รวมทั้งได้รับการมองในแง่ดีขึ้นด้วย)
เรื่องสั้นชื่อ “มนุษย์สองร้อยปี” ของอาซิมอฟ เป็นหนึ่งในผลงานเด่นที่บอกเล่าเกี่ยวกับหุ่นยนต์ได้อย่างน่าประทับใจ โครงเรื่องคร่าว ๆ กล่าวถึงกำเนิดของหุ่นยนต์รับใช้ชื่อแอนดรูว์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัวที่เป็น “เจ้านาย” ของมันอย่างซื่อสัตย์เป็นเวลาเนิ่นนาน (กระทั่งกล่าวได้ว่า “หลายชั่วคน”)
กาลเวลาอันยาวนาน บวกรวมกับการคลุกคลีใกล้ชิดกับมนุษย์ ส่งผลให้เจ้าหุ่นแอนดรูว์ค่อย ๆ ซึมซึบด้านละเอียดอ่อนต่าง ๆ ของคน และค่อย ๆ ลดทอนความเป็นเครื่องจักรสมองกลลงทีละน้อย ท้ายที่สุดหุ่นยนต์แอนดรูว์ก็มีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ (และเป็น “คน” ยิ่งกว่าคนธรรมดาทั่ว ๆ ไปเสียอีก)
อาซิมอฟเล่าเรื่องของแอนดรูว์ได้อย่างรวบรัดชวนติดตาม ขณะเดียวกันก็เก่งกาจน่าทึ่งมาก ในการใช้เนื้อที่เพียงไม่กี่หน้ากระดาษ แสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของระยะเวลาอันยาวนาน ได้อย่างหนักแน่นสมจริงน่าเชื่อถือเหนือสิ่งอื่นใด
อาซิมอฟทำให้นิยายวิทยาศาสตร์ที่นักอ่านจำนวนมาก ผู้ไม่คุ้นเคยกับงานประเภทนี้ และรู้สึกขยาดเกรงขามล่วงหน้าอยู่ก่อน ต้องติดตามอ่านกันชนิดรวดเดียวจบ และมีจำนวนไม่น้อยอ่าน “มนุษย์สองร้อยปี” จบลงในสภาพ “น้ำตาซึม” ด้วยความซาบซึ้งตื้นตันใจ
ความโดดเด่นเหล่านี้ ทำให้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ “มนุษย์สองร้อยปี” จะได้รับความนิยมและเป็นที่ยกย่องอย่างสูง และมีคนซื้อเรื่องมาดัดแปลงเป็นหนังในเวลาต่อมา
แต่เปรียบเทียบกันแล้ว คุณภาพของฉบับที่เป็นหนังห่างชั้นจากเรื่องเดิมอยู่หลายขุม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีเด็ดทีขาดในตอนจบ ซึ่งเรื่องของอาซิมอฟเร้าอารมณ์ได้เนียนและมีชั้นเชิงมากกว่า ขณะที่ตัวหนังนั้น โดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าจงใจบีบเค้นคั้นน้ำตาจนเข้าขั้น ฟูมฟาย” (จนเกือบ ๆ จะเข้าขั้นน่ารำคาญ)
สำหรับคนที่ไม่เคยอ่านเรื่องสั้นชิ้นเยี่ยมเรื่องนี้มาก่อน Bicentennial Man ฉบับที่เป็นหนังก็ถือได้ว่า คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี
“มนุษย์สองร้อยปี” ฉบับที่เป็นหนัง อาจมีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ แต่ฉบับหนังสือนั้นผลลัพธ์เป็นเอกฉันท์ จะมีผิดแผกแตกต่างอยู่บ้างก็คือ บางคนอ่านแล้วชอบมาก บางคนก็เข้าขั้นหลงรักประทับใจ